
อำเภอพล
เขตการปกครอง
อำเภอพล แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ๑๒ ตำบล ๑๓๒ หมู่บ้าน
๑. เมืองพล | (Mueang Phon) | ๑๑ หมู่บ้าน |
๒. โจดหนองแก | (Chot Nong Kae) | ๑๔ หมู่บ้าน |
๓. เก่างิ้ว | (Kao Ngio) | ๑๑ หมู่บ้าน |
๔. หนองมะเขือ | (Nong Makhuea) | ๙ หมู่บ้าน |
๕. หนองแวงโสกพระ | (Nong Waeng Sok Phra) | ๑๔ หมู่บ้าน |
๖. เพ็กใหญ่ | (Phek Yai) | ๑๑ หมู่บ้าน |
๗. โคกสง่า | (Khok Sa-nga) | ๑๐ หมู่บ้าน |
๘. หนองแวงนางเบ้า | (Nong Waeng Nang Bao) | ๑๓ หมู่บ้าน |
๙. ลอมคอม | (Lom Khom) | ๑๑ หมู่บ้าน |
๑๐. โนนข่า | (Non Kha) | ๙ หมู่บ้าน |
๑๑. โสกนกเต็น | (Sok Nok Ten) | ๑๑ หมู่บ้าน |
๑๒. หัวทุ่ง | (Hua Thung) | ๘ หมู่บ้าน |
เขตการปกครองท้องที่จังหวัดขอนแก่น แบ่งออกเป็น ๒๖ อำเภอ ได้แก่
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอพล อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๗๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๔๒๐.๕๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒๖๒,๘๑๒.๕ ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองอื่นๆ ดังนี้
ทิศเหนือ | ติดต่อกับอำเภอแวงใหญ่ อำเภอชนบท และอำเภอโนนศิลา (จังหวัดขอนแก่น) |
ทิศตะวันออก | ติดต่อกับอำเภอหนองสองห้อง (จังหวัดขอนแก่น) |
ทิศใต้ | ติดต่อกับอำเภอประทาย และอำเภอบัวลาย (จังหวัดนครราชสีมา) |
ทิศตะวันตก | ติดต่อกับอำเภอแวงน้อย (จังหวัดขอนแก่น) |

ประวัติความเป็นมา
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดเกล้าให้พระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพไปปราบพระเจ้ากรุงเวียงจันทร์ที่คิดแข็งเมือง และเอาใจออกจากกรุงธนบุรี ขณะที่เจ้าพระยาทั้งสองเดินทัพผ่านเมืองโคราช (จ.นครราชสีมา) มาถึงเนินดินแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ติดกับฝั่งบึงละเลิงหวายอันเป็นที่ตั้งหมู่บ้านเมืองพลในปัจจุบัน เจ้าพระยาทั้งสองได้หยุดพักทัพที่นี่ เพราะเห็นว่าเป็นชัยภูมิเหมาะสมกว่าที่อื่น มีแหล่งน้ำ ปู ปลา อาหารสมบูรณ์ จึงได้สร้างค่ายประตูหอรบตลอดจนขุดคูคันดินน้ำล้อมรอบตามหลักยุทธศาสตร์ในสมัยนั้น เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากฝ่ายศัตรู ในเนื้อที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตรและถือโอกาสรวามพลฝึกทหารเพิ่มเติมจากราษฎรที่เกณฑ์มาจากอำเภอพุทไธสง จ.บุรีรัมย์ อ.นอก (อ.บัวใหญ่) จ.นครราชสีมา และอ.ชนบท จ.ขอนแก่น ปัจจุบันคันดูดิน และร่องน้ำยังคงเหลือปรากฎอยู่
ครั้นต่อมาเมื่อรวบรวมกำลังทหารได้มากพอสมควรแล้ว เจ้าพระยาทั้งสองจึงได้เดินทัพต่อไปยังเมืองหลวงพระบางและเวียงจันทร์ จนได้รับชัยชนะสมพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทุกประการ หลังจากนั้นค่ายพักพลดังกล่าวได้ถูกทอดทิ้งให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่ามาเป็นเวลานาน ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และเถาวัลย์นานาพันธ์ แต่เนื่องจากที่นี่มีทำเลที่เหมาะสมเพราะติดกับบึงละเลิงหวาย ต่อมาจึงได้มีผู้คนอพยพไปหักร้างถางป่าปลูกบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ จึงได้ชื่อว่า “บ้านเมืองพล” ขึ้นต่ออำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองพลได้ถูกยกฐานะเป็นตำบล “เมืองพล” ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอชนบท ๔๕ กม.
ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ กระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาเห็นว่าการคมนาคมและการติดต่อราชการของตำบลเมืองพลกับอำเภอชนบทไม่สะดวก เพราะต้องอาศัยการเดินเท้า เกวียน และม้าเป็นพาหนะจึงได้แบ่งเขตการปกครองของอำเภอชนบทใหม่ โดยยกฐานะตำบลเมืองพลเป็นอำเภอใหม่ ให้ชื่อว่า “อำเภอพล” โดยมีขุนมัชการธนานุรักษ์ (แสง ภาสะฐิติ) เป็นนายอำเภอคนแรก
คำขวัญ
เมืองพลโนนแท่นพระ สักการะพระเจ้าใหญ่
อ่างน้ำละเลิงหวาย ค้าขายกว้างไกล
น้ำใจมากล้น ชนชาตินักรบ
ทำนบภูดิน เที่ยวถิ่นทุ่งพึงพืด
แหล่งข้อมูล
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. อำเภอพล. สืบค้นเมื่อ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖, จาก: https://kku.world/px4vh
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
โนนแท่นพระ อำเภอพล
บึงทุ่งพึงพึด อำเภอพล
บึงละเลิงหวาย อำเภอพล
ภูดิน บ้านหันใหญ่ ตำบลเมืองพล อำเภอพล
โสกผีดิบ บ้านหนองบัว ตำบลโสกนกเต็น อำเภอพล
วัดจันทรัตนาราม (พระธาตุเมืองพล) อำเภอพล
|
|