เดือนสาม – บุญข้าวจี่

บุญข้าวจี่ เป็นบุญที่เกิดจากความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน ที่นัดหมายมาทำบุญร่วมกัน โดยการปลูก “ผาม” หรือ “ปะรำ” เตรียมไว้ในช่วงบ่าย พอถึงรุ่งเช้าในวันถัดมาชาวบ้านจะช่วยกัน “จี่” ข้าวเหนียว หรือ ปิ้งข้าว แล้วนำมาตักบาตรข้าวจี่ร่วมกัน ตามมาด้วยการฟังเทศน์นิทานชาดกเรื่อง นางปุณณทาสี

 

ฮีต ๑๒

เดือนอ้าย
บุญเข้ากรรม
เดือนยี่
บุญคูณลาน
เดือนสาม
บุญข้าวจี่
เดือนสี่
บุญผะเหวด
เดือนห้า
บุญฮดสรง
เดือนหก
บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด
บุญซำฮะ
เดือนแปด
บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า
บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ
บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด
บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง
บุญกฐิน

 

ความเป็นมา:

การจี่ข้าว คำว่า “จี่” แปลว่า ปิ้งหรือย่าง ชาวอีสานจะใช้ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ทาเกลือ แล้วเสียบไม้ย่างไฟด้วยถ่าน ที่สุกเหลืองพอดี มีกลิ่นหอม ผิวด้านนอกเกรียมกรอบน่ารับประทาน บางคนอาจใช้ไข่เหลืองทาเพื่อให้มีสีน่ารับประทาน บ้างก็ใส่น้ำอ้อยลงไปด้วย ข้าวจี่ร้อนๆ เหมาะสมกับภูมิอากาศหนาวเย็นในเดือนสาม

มูลเหตุของการถวายข้าวจี่นี้มาจากนิทานชาดกเรื่อง นางปุณณทาสี เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล นางทาสที่ชื่อ ปุณณทาสี  ได้นำแป้งมาจี่ แล้วถวายพระพุทธเจ้า แต่ในใจของนางคิดว่าเป็นของต่ำต้อย พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน แต่พระพุทธเจ้าหยั่งรู้จิตใจของนาง ได้ฉันขนมข้าวจี่ที่นางนำมาถวาย ทำให้นางปุณณทาสีปิติดีใจเป็นยิ่งนัก ชาวอีสานจึงได้นำแบบอย่างนี้มาดัดแปลงทำเป็นบุญข้าวจี่

 

ระยะเวลา/สถานที่:

 

พิธีกรรม:

การทำบุญข้าวจี่ชาวบ้านอาจไปรวมกันทำที่วัด หรือต่างคนต่างจัดเตรียมข้าวจี่ไปเอง มีการไหว้พระรีบศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ แล้วตักบาตรด้วยข้าวจี่ จากนั้นจึงยกไปถวายพระภิกษุสามเณรพร้อมภัตตาหารอื่นๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์ฉลองข้าวจี่และรับพร

 

อานิสงค์:

 

แหล่งข้อมูล:

สำนักวัฒนธรรม ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ฐานข้อมูลฮีต ๑๒ คอง ๑๔. สืบค้นเมื่อ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖, จาก: https://cac.kku.ac.th/heet12_kong14/main.html

 

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
  • Today's visitors: 0
  • Today's page views: : 0
  • Total visitors : 0
  • Total page views: 0